วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

มหกรรมตลาดนัดศิลปะ..........

..... ศูนย์ศึกษาศิลปะธรรมชาติเด็กรักป่า......




          กลุ่มเด็กรักป่าเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี 2533 โดยเริ่มจากงานค่ายเล็กๆ ในชุมชนพื้นที่ของโครงการป่าชุมชน ตั้งแต่ 2532 ในพื้นที่ป่าเขตอีสานใต้ ได้ดำเนินการเรียนรู้ธรรมชาติผ่านกระบวนการทางศิลปะทุกแขนง ได้แแก่ วาดรูปเขียนบทกวี ดนตรี กิจกรรมดูนก เดินป่า ทำบาติกย้อมสีธรมชาติ เป็นต้น

         รูปกิจกรรมที่ไปดูงานมา

                                                การทำลวดหนาม

                       
  
    การทำลวดหนามของชาวบ้านถือว่าเป็อาชีพอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ชุมชนมีรายได้มีอาชีพ

 

                                  การละเล่นพื้นบ้าน

                   

         การรำสากของน้องๆเป็นการละเล่นพื้นเมืองที่อนุรักษ์ศิลปะอย่างหนึ่ง

                                          ต่อมาเป็นการเดินป่า


                    

เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าใหญ่ มีฐานให้ความรู้ทั้งหมด 16 ฐานโดยให้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับเรื่องวิถีชีวิต ความเชื่อ ความรู้ภูมิปัญญาของชุมชน เช่น ศาลตายาย กระสือ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ของชุมชนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการใช้ประโยชน์ และการพึ่งพิงป่าในวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ทั้งภายในและภายนอกชุมชน เป็นการศึกษาที่เข้ากับบริบทของชุมชนบนฐานทรัพยากรป่าที่มีอยู่ให้เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของชุมชนที่มีเอกลักษณ์มีความน่าสนใจเป็นการปลูกฝังให้ยาวชนเกิดความหวงแหนป่าและความภาคภูมิใจต่อชุมชนของตนเอง


              

                      ภาพถ่าย รวมหมู่ก่อนการเดินป่า

           
       
                  ภาพถ่าย ระหว่างทางที่เดินป่า
                


วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

เสือกก บ้านโคกสะอาด สินค้า OTOP ของจังหวัดสุรินทร์

เสือกก สินค้า OTOP


ความเเป็นมา

          แต่เดิมบรรพบุรุษของชาวบ้านโคกสะอาดหมู่ที่ 9 ตำบลหนองฮะ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ได้ทอเสื่อกกไว้ใช้ในครัวเรือนโดยได้เก็บต้นกกจากหนองน้ำตามธรรมชาติ จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2532 นายสมบัติ สอนดี ได้เห็นนางมี บุญเต็ม นั่งทอเสื่อ จึงได้เกิดความสนใจเริ่มเรียนรู้และทอเสื่อกกด้วยตัวเองไว้ใช้ โดยมีนางมี บุญเต็มคอยสอนให้
ต่อมาปี2538 ได้มีการรวมกลุ่มกันชื่อกลุ่ม “ทอเสื่อกกบ้านโคกสะอาด” แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียนกลุ่ม เริ่มแรกมีสมาชิก 12 คน แบ่งหน้าที่ต่างคนต่างทำสอนกันไปเรื่อย ๆ มีลายเดียว โดยใช้สีย้อมไหมย้อมเป็นสีตามความต้องการ ต่อมาปี2545 มีพัฒนากรผู้ประสานงานตำบล ชื่อนายดำรง สมหอม ได้ให้กลุ่มลงทะเบียนเป็นสินค้าOTOP จึงมีสมาชิกเพิ่มเติม เป็น 22 คนและได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสำโรงทาบ นำกลุ่มไปทัศนศึกษาดูงานที่อำเภอขุขันธ์จังหวัดศีรสะเกษ โดยได้ดูการทอเสื่อจากต้นเตยหนาม ทางกลุ่มจึงได้นำมาประยุกต์ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยได้ทำฟืมจากไม้ไผ่เพื่อทำลายไว้ใช้เอง และต่อมาคนในชุมชนได้มีความสนใจมากขึ้นจนเกือบทุกหลังคาเรือนจึงได้มีการสอนการทำเสื่อกกเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนจนถึงปัจจุบัน
ใน ปี2543 ชาวบ้านโคกสะอาดได้ไปช่วยงานแต่งงานของญาติพี่น้องที่จังหวัดขอนแก่น ได้เห็นชาวบ้านทอเสื่อกกจากต้นกกราชินี(ต้นไหล)ซึ่งมีความละเอียด สวยงาม กว่ากกที่บ้าน จึงได้ขอพันธ์มาปลูกที่บ้านโคกสะอาดโดยได้ปลูกกันเกือบทุกหลังคา จากนั้นจึงได้มีการเก็บต้นกกราชินีนำมาทอเป็นเสื่อกกและมีการพัฒนาฝีมือขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดผลิตภัณฑ์เสื่อกกมีทั้งแบบจากต้นกก(เกาะ)ในบ้านและต้นกกราชินี โดยไม่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากแหล่งอื่น

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภภัณฑ์

- ทำด้วยมือ ผลิตจากวัตถุดิบในท้องถิ่น
- มีลายให้เลือกมากมาย
- มีทังแบบผืนและแบบพับขนาดใหญ่และเล็กตามต้องการ
- มีหลายแบบหลายราคาให้เลือก
- มีทังประเภทหยาบและประเภทละเอียด






มาตราฐานและรางวัลที่ได้รับ

- คัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 2 ดาว ปี 2547
- คัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 4 ดาว ปี 2549
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปี 2549
- ขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชนปี 2548




 



ความสัมพันธ์กับชุมชน

กลุ่มได้ใช้ฝีมือแรงงานและวัตถุดิบจากในชุมชน มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน โดยแบ่งหน้าที่ทำตามที่ได้รับมอบหมายมีการแบ่งกำไร ส่วนที่เหลือนำไว้เป็นทุนดำเนินการต่อไปในส่วนกองกลางของกลุ่ม

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

วัตถุดิบประกอบด้วย
1. ต้นกก
2. เชือกไนลอน
3. สีย้อมไหม (สีเคมี)
4. ผ้าโทเร
5. น้ำ
อุปกรณ์
1. ฟืม
2. ไม้สอด
3. กี่
4. ปี๊บ
5. เตา
6. ไม้พาย
7. กาละมังใบใหญ่


การผลิตขั้นตอน

ขั้นตอนการย้อม
1. นำต้นกกที่ได้มาฉีกเป็นเส้น ต้นใหญ่ 3 เส้น ต้นเล็ก 2 เส้น แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิทจนขึ้นสีขาว
2. นำมาย้อมสีโดย การต้มน้ำเปล่าให้เดือดแล้วใส่สี โดยจะย้อมตามความต้องการ จากนั้นจำต้นกกลงย้อมครั้งเดียวประมาณ 15 นาที อย่างต่ำ แล้วนำขึ้นจากแดดจัดให้แห้งสนิท(สำหรับไว้เล่นลาย) ส่วนสีพื้นไม่ต้องย้อม
3. เมื่อย้อมสีแล้วต้องนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ครั้งจึงจะนำขึ้นตาก

ขั้นตอนการทอเสื่อแบบผืน

1. นำกกที่ได้จากการย้อมและตากแห้งแล้ว มาทอโดยการใส่ไม้สอดในฟืม แล้วใช้กี่ตำ เล่นลายตามชอบใจลายที่ทอส่วนใหญ่จะมี 3 - 4 ลาย ได้แก่
- ลายกระจับ
- ลายอุ้ม
- ลายสอง
2. ทอจนหมดฟืม จะได้ขนาดตามฟืม ดังนี้
2.1 ฟืมใหญ่ ขนาด 1.20X 2 เมตร
2.2 ฟืมกลาง ขนาด 90 X 180 เซ็นติเมตร
2.3 ฟืมเล็ก ขนาด 70 X 150 เซ็นติเมตร
3. ตัดออกจากฟืมและตกแต่งความสวยงามด้วยกรรไกร เป็นอันเสร็จ


ขั้นตอนการทอแบบพับ

1. การทอเสื่อพับจะใช้กกราชินีทอ เพราะต้องการเน้นความละเอียด สวยงาม ทนทาน โดยใช้ฟืมขนาด50 X 120 เซนติเมตร ทอเป็นผืนความยาวแล้วแต่ต้องการ เช่น (3 พับใหญ่ยาว 2 เมตร) (2 พับ ขนาด 70 X 200 เซ็นติเมตร) (3 พับเล็ก ขนาด30 X 150 เซนติเมตร)
2. นำมาเย็บติดกันด้วยจักร 3 ผืน
3. นำผ้าโทเรเลือกสีตามต้องการ นำมาเย็บติดขอบ ที่หิ้ว และระหว่างรอยต่อ







กลุ่มผู้ประกอบการ

กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มทอเสื่อกกบ้านโคกสะอาด หมู่ที่ 9 ตำบลหนองฮะ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
โทรศัพท์ 087-0605575
ประธานกลุ่ม นายสมบัติ สอนดี
สถานที่ตั้งกลุ่ม บ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 9 บ้านโคกสะอาด ตำบลหนองฮะ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์


แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

- กลุ่มทอเสื่อกกบ้านโคกสะอาดบ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 9 ตำบลหนองฮะ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
- ศูนย์จำหน่ายสินค้าOTOP จังหวัดสุรินทร์
- ที่ว่าการอำเภอสำโรงทาบโทร.044-569256
- การจำหน่ายสินค้า OTOPประทายสะเร็น (ทุกเดือน)บริเวณถนนกรุงศรีนอก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์





กล่องกระดาษเช็ดชู่

  เสือกก แบบพับ


วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

งานช้างจังหวัดสุรินทร์2555Surin Elephant Round-Up 2012

งานช้างจังหวัดสุรินทร์ 2555 Surin Elephant Round-Up 2012  ปีนี้ได้จัดในวันที่ 14 - 25 พฤษจิกายน 2555 

มาดูประวัติการเป็นของงานช้างจังหวัดสุรินทร์Surin Elephant Round-Up

          บริเวณตอนเหนือของจังหวัดสุรินทร์ ในแถบตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม และตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมืองชาว "กวย" หรือ "ส่วย" นิยมเลี้ยงช้างมาแต่โบราณกลาล เพื่อนำไปใช้ในและพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 58 กิโลเมตร ชาวบ้านนิยมเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้รู้จักบ้านตากลางในนามของ "หมู่บ้านช้าง"

               หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำมูลและลำน้ำชี เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่า มีความอุดมสมบูรณ์มาก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2503 นายวินัย สุวรรณกาศ นายอำเภอท่าตูม ได้จัดงานแสดงช้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า อำเภอท่าตูม (ที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ในปัจจุบัน) เพื่อเฉลิมฉลองที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ ในงานมีการแสดงขบวนแห่ช้าง การแข่งขันช้าง วิ่งเร็ว การคล้องช้าง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก มีการแพร่ภาพประชาสัมพันธ์ทั้งทางหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศเกิดความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีต่อมา อสท.(ททท.) จึงได้เข้ามาให้การสนับสนุนโดยร่วมกำหนดรูปแบบของการแสดงและนำนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาชมการแสดง

          ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้การจัดงานช้างเป็นงานประจำปีของชาติ และให้ส่วนราชการต่าง ๆ สนับสนุน นายคำรณ สังขกร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า การจัดงานที่อำเภอท่าตูมไม่สะดวกในการเดินทางของนักท่อง เที่ยวจึงได้ย้ายสถานที่จัดงานมาที่สนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และได้กำหนดจัดงานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นวันเสาร์ - อาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
จังหวัดสุรินทร์ เตรียมจัดงานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง ประจำปี 2555 อย่างยิ่งใหญ่คาดว่าจะมีช้างเข้าร่วมกว่า 300 เชือก

วันที่ 17 สิงหาคม 2555 ที่ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานประชุมเตรียมการจัดงาน ต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้างสุรินทร์ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2555 ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เพื่อเลี้ยงต้อนรับช้างเข้าเมืองกว่า 300 เชือกที่มาร่วมแสดงงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ และเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์การจัดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ประจำปี 2555 ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น สำหรับการจัดงาน "ต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้างสุรินทร์” ได้จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2543 และได้จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเทศกาลงานประเพณี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นทีรู้จักของคนทั่วโลก ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ โดยมีกิจกรรมภายในงานที่ความหลากหลาย ดังนี้ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 จะมีการการจัดประกวดขบวนรถอาหารช้างเคลื่อนที่ ของหน่วยงานต่างๆ ที่ตระการตาไปด้วยผักผลไม้ที่นำมาประดับตกแต่งขบวนรถอย่างอลังการ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 การจัดขบวนแห่ต้อนรับช้างเข้าเมือง มีช้างจำนวนกว่า 300 เชือก ร่วมขบวนอย่างยิ่งใหญ่ และจะมีการเลี้ยงโต๊ะอาหารช้างความยาวกว่า 400 เมตร น้ำหนักอาหารกว่า 50 ตัน ซึ่งมีการบันทึกในกินเนสบุ๊ค เรคคอร์ด (Guinness Word Record) เมื่อปี 2546 ว่าเป็นการเลี้ยงบุฟเฟต์อาหารช้างที่ยิ่งใหญ่และยาวที่สุดในโลก นอกจากนี้ ยังมี กิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น การประกวดสาวงามเมืองช้าง การประกวดช้างสุขภาพดี ประกวดวาดภาพช้าง การประกวดเรียงความ และการแข่งขันหนุ่มสาวพลังช้าง และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เป็นต้น นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า เพื่อป้องกันปัญหาช้างตกมัน และช้างทำร้ายนักท่องเที่ยว จังหวัดสุรินทร์ได้มอบหมายให้ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ จัดการซ้อมแผนเผชิญเหตุร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกรณีเกิดเหตุช้างตกมัน หรือช้างทำร้ายร่างนักท่องเที่ยว โดยจะคัดเลือกช้างที่มีนิสัยดีมาร่วมงาน เพื่อให้การจัดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ ประจำปี 2555 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยิ่งใหญ่ และสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวทุกคน

 

โต๊ะอาหารช้างมีความยาว 400 เมตร



ภาพเดินเข้าสนามแสดงช้าง
ช้างเตะบอลแข่งกัน
การแสดงช้าง
บัตรเข้าชมงานช้างจังหวัดสุรินทร์Surin Elephant Round-Up         
 ราคาเข้าชมการแสดงช้าง มีราคา 1,000 บาท 500 บาท 300 บาท และ 40 บาท         
 * บัตรราคา 1,000 บาท และ 500 บาท สามารถสั่งจองล่วงหน้าและชำระเงินโดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มชำระเงินค่าบัตรชมการ แสดงช้างที่ www.surin.go.th
          รายละเอียดและกำหนดการดูได้จากเว็บไซต์ www.surin.go.th  

ความประทับใจในการมาเรียนมหาวิทยาลัย


ความประทับใจในการมาเรียนที่มหาวิทยาลัย


              ในการมาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์แห่งนี้ทำให้ได้เรียนรู้อะไรแปลกใหม่ๆหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตอยู่คนเดียวโดยที่ไม่มีพ่อแม่คอยดูแล การรู้จักใช้จ่ายเงินให้เพียงพอและประหยัดที่สุด การไปเรียนโดยที่ไม่มีพ่อแม่คอยรับคอยส่ง เราต้องรู้จักการพึ่งพาตนเอง ในตอนมาเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้แรกๆก็ไม่ได้มีความประทับใจอะไรเท่าไหร่ แต่เมื่อเราได้ไปเรียนทุกวัน เริ่มได้รู้จักกับเพื่อนๆมากขึ้น ก็เริ่มมีความประทับใจอะไรหลายๆอย่าง การที่มาอยู่ในที่แปลกใหม่ก็ทำให้ต้องปรับตัวอะไรหลายอย่างเพื่อให้เข้ากับสถานที่นั้นๆ แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการมาเรียนที่นี่เลย
                เด็กต่างจังหวัดคนหนึ่งที่มาเรียนที่มหาวิทยาลัยที่มีความร่มรื่นเงียบสงบเหมาะแก่การเรียน การสอน นักศึกษาที่มาจากหลายๆสถาบันหลายๆ แห่งมารวมกันก็ย่อมที่จะมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ ถึงแม้จะมีการพูดหรือภาษาพูดที่แตกต่างกันออกไปก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการพูดคุยทำความรู้จักกัน จริงๆความประทับใจในการมาเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็มีมากมาย แต่ที่ดิฉันประทับใจมากที่สุดก็คงจะเป็นในเรื่องเพื่อนๆ เนื่องจากเพื่อนๆในห้องคอยให้ความช่วยเหลือเราในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะคอยรับคอยส่งในการไปเรียน การคอยช่วยเหลือเรื่องงานเรื่องการบ้าน งานกลุ่มที่คอยช่วยกันทำไม่เกี่ยงงาน หรือแม้กระทั่งช่วยกันติวในช่วงเวลาที่มีการสอบ ทำให้รู้สึกประทับใจมากเลย เพราะตอนอยู่ที่สถานศึกษาเดิมไม่เคยมีแบบนี้ อย่างน้อยก็ทำให้รู้สึกว่าเพื่อนไม่ทิ้งเราต้องจบพร้อมกันแน่ถ้าเรามีความพยายาม ความขยัน ความอดทนในการเรียน นอกจากเรื่องเรียนแล้วก็ยังมีเรื่องกิจกรรมที่เพื่อนๆ คอยให้ความช่วยเหลือกันช่วยกันเสนอความคิดเห็นต่างๆระดมความคิดเพื่อให้กิจกรรมต่างๆออกมาสำเร็จลุล่วงโดยปราศจากปัญหาน้อยที่สุด การแบ่งงานแบ่งหน้าที่กันทำตามความถนัดของตัวเองมีอะไรก็คอยช่วยกันตลอดทำให้รู้สึกสนุกกับกิจกรรมไม่น่าเบื่ออย่างที่เคยผ่านๆมา ทำให้ภายในห้องสามัคคีกันมากขึ้นและสนิทกันมากขึ้นอีกด้วย ในการเรียนนั้นถ้าคนไหนที่เรียนเก่งแต่ไม่มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนๆก็จะทำให้เพื่อนไม่อยากที่จะคบด้วย แต่ในเพื่อนๆในห้องไม่ได้เป็นอย่างนั้นนั้น ไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรก็คอยจะช่วยเหลือ แบ่งปันความรู้ให้คำปรึกษากันอยู่ตลอด ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจเพื่อนๆในห้องเป็นอย่างมากมาก
                แม้มันจะไม่ได้ดูสำคัญมากมายอะไรแต่ก็อยากที่จะขอบคุณมหาวิทยาลัย ขอบคุณเพื่อนๆในห้องทุกคนที่ทำให้เราได้มารู้จักสนิทสนมกัน คอยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องงาน เรื่องกิจกรรม หรือเรื่องอะไรก็ตามล้วนแต่ที่ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจอย่างมาก จากที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นความประทับใจเล็กๆน้อยๆของดิฉันที่ได้มาเรียนในมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ แห่งนี้  



วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันแม่แห่งชาติ




เมื่อเดือนสิงหาคมของทุกปีมาถึง ก็รู้ตัวว่าควรจะทำสิ่งดี ๆ ให้แม่ของลูกได้มีรอยยิ้ม แต่ความที่เป็นเด็กและขี้อาย ก็ยังไม่กล้าที่จะเข้าไปกอด ไปหอมแก้มแม่สักครั้ง ได้แต่นำดอกมะลิมาไหว้แม่และยิ้มอย่างเขินอาย ก็หวังว่าจะมีสักครั้งที่จะรวบรวมความกล้า เข้าไปกราบเท้าแม่สักครั้งในวันที่ไม่สายเกินไป

      วันแม่ เปรียบเสมือนวันแห่งความเจ็บปวดของแม่ มีทั้งความสุข และความเจ็บ มีทั้งน้ำตาที่ไหลรินออกมา พร้อมความปลื้มปิติที่เห็นลูกน้อยลืมตาออกมาดูโลกใบนี้ รู้อย่างนี้แล้ว ก็ยังมีบ่อยครั้งที่ทำให้แม่ต้องร้องไห้




กลิ่นความรักหอมนวลอวลไออุ่น
มือละมุนเนียนนุ่มอุ้มโอบขวัญ
ทะนุถนอมตระกรองกอดยอดชีวัน
ประครองป้องผองภยันอันตราย
กี่สิบถ้อยร้อยคำรำพันพรอด
ที่ถ่ายทอด “คำรัก” หลากความหมาย
กี่เปรียบเปรยสรรหามาบรรยาย
ฤาเทียบสายใยรักจาก…มารดา
ครั้งที่ลูกยังเป็นเด็ก เล็กเล็กอยู่
แม่คือ “ครู” สอนอ่านเขียนเรียนภาษา
ให้คำเตือน…เสมือนแสงแห่งปัญญา
ให้วิชาคือ “รู้คิด” ที่ติดตน
ยามลูกเหนื่อยอนาทรแสนอ่อนล้า
ต้องการคำปรึกษาหาเหตุผล
แล้วหันมองรอบกาย…คล้ายมืดมน
ยังพบคนหนึ่ง…คือแม่…คอยแลมอง
แม่จ๋า…แม่คือยอดสตรีที่ประเสริฐ
แม่…เลอเลิศหนึ่งในใจไม่เป็นสอง
แม่…สูงค่ากว่าหยาดเพชรเกร็ดสีทอง
เกินยกย่องด้วยล้านคำ…พร่ำพรรณนา
หอมกลิ่นความรักนวลอวลไออุ่น
ระลึกคุณ แม่โอบอุ้มคุ้มเกศา
มือของลูกจึงเรียงร้อยถ้อยวาจา
เป็นมาลาหอม “รัก” กราบจากใจ


                                                                อุ่นไอรัก…จากแม่


เด็กบ้านนอก
งบ 200,000 สิ่งที่จะพัฒนามหาวิทยาลัย

1. ซื้อคอมใหม่
2. ติดตั้งสัญญาณอินเตอร์เน็ต
3. ปรับแต่งห้องเรียนให้ทันสมัย
4.  ซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด
5.  ซื้อโปรเจคเตอร์ใหม่ให้ครบทุกห้อง
6.  ต่อเติมอาคารเรียน



 


ประชุม ครม. จ.สุรินทร์


ที่มาภาพ : google.com

การประชุม ครม.สัญจร ครั้งนี้ เลือกมาจัดที่จังหวัดสุรินทร์ เพราะเป็นเหมือนศูนย์กลางของ 8 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง และเป็นประตูเชื่อมกับกัมพูชา รัฐบาลจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาในพื้นที่นี้ ก่อนเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า